เส้นใยแอสลอน (Azlons)
เส้นใยแอสลอน (Azlon) เป็นชือทั่วไปที่ใช้เรียกเส้นใยโปรตีนสังเคราะห์หรือ จากโปรตีนธรรมชาตที่แปรรูป(Regenerated Protein) แอสลอนไม่ค่อยได้รับความสนใจและมีผลิตไม่มากนัก
ลักษณะของเส้นใยโปรตีนสังเคราะห์นั้นคล้ายขนสัตว์ แต่ไม่ทนทานเท่าขนสัตว์ ให้ความอบอุ่นและนุ่มนวล เหมาะที่จะผสมกับเส้นใยขนสัตว์ หรือ เส้นใยชนิดอื่นๆเพื่อเพิ่มความนุ่มนวล ลดการทำให้ผ้าเกิดเป็นเม็ดเป็นขุยบนผิวผ้า ย้อมสีติดได้ดี ทนต่อมมอดแมลงและราได้ดี แต่ข้อเสียคือมึความเหนียวต่ำ ปรับสภาพโค้งงอ และนำมารวมตัวกันได้น้อยไม่ทนต่อด่างและสารฟอกขาว
การผลิตจากหางน้ำนม นั้นทำได้โดยการใช้เครื่องนำนมมาแยกออกให้ครีมออกจากนมไปเป็น Skimmed Milk แล้วนำครีมที่ได้มาอุ่นให้ร้อนที่อุณหภูมิ 40องศาเซลเซียส เติมกรดลงไปให้โปรตีนเกาะกันเป็นก้อน แล้วนำมาล้างเอากรดและเกลือออก นำไปตากให้แห้ง โปรตีนที่เกาะตัวเป็นก้อนจะมี Casein อยู่ (ในนัำนมจำนวน 100 ปอนด์ จะให้ได้ Casein 3 ปอนด์) จากนั้นนำไปปั่นให้เป็นเนื้อเดียวกัน ผสมในสารละลายด่าง Saustic soda 2.7% ของน้ำหนังเคซิน นำไปทำความสะอาดแล้วกดอัดออกมาเป็นเส้นใย โดยให้ผ่านลงในน้ำที่มีส่วนประกอบของน้ำ 100 ส่วน กรดกำมะถัน 2 ส่วน ฟอร์มาลดีไฮด์ 5 ส่วน กลูโคส 20 ส่วน วิธีการนี้เรียกว่า Acetylation ทำให้คุณสมบัติ ทนต่อน้ำร้อน และไม่ให้มีกลิ่นคล้ายเนยแข็งหรือนม เส้นใยทีผลิตได้จะถูกตัดออกเป็นเส้นใยสั้น ๆ ขนาดเท่าๆ กับเส้นใยที่ได้จากขนสัตว์ และทำให้หยิกงอคล้ายขนสัตว์ ๆ
คุณสมบัติของเส้นใยแอสลอนจากเคซินคือให้ความอบอุ่น และนุ่มมาก ความเหนียวต่ำถึง 0.8-1 กรัมต่อดิเนียร์ เมื่อเปียกความเหนียวจะลดลง คุณสมบัติทางด้านเคมีจะคล้ายเส้นใยโปรตีนธรรมชาติ
แชร์หน้านี้ให้เพื่อน: