ใยป่าน (Hemp) และใยป่านรามี
ใยป่าน เป็นเส้นใยที่ได้จากลำต้นอีกชนิดหนึ่ง แต่มีใยค่อนข้างอ่อนนุ่มกว่าใยจากลำต้น ชนิดอื่น ๆ เริ่มมีใชักันครั้งแรกในประเทศแถวเอเซีย ใยป่านมีปลูกในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตศักราช ชาวจีนรู้จักใช้ใยป่านทำกระดาษ ชาวญีปุนเชือว่าใยป่านเป็นใยทีเก่าแก่ที่สุดของเขา ต่อมาได้ถูกนำไปสู่ประเทศแถบยุโรป และกลายเป็นเสันใยที่สำคัญของประเทศในแถบนั้นต่อมา
ชาวอียิปต์และชาวเพนิเซีย รู้จักใช้ป่านภายหลังูร้จักใช้ใยลินินมาก ปัจจุบันประเทศ ที่ปลูกป่านมากที่สด ได้แก่ รัสเซีย อินเดีย และจีน ต้นป่านเป็นพืชที่แข็งแรงมาก สามารถขื้นได้พื้นที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลถืง 8,000 ฟุต จืงขึ้นได้ดีในบริเวณทั่วไปที่มีอากาศอบอุ่นหรือร้อน
ต้นป่านเป็นพืชล้มลุกต้องปลูกใหม่ทุกปี แต่สามารถปลูกในที่ดินเดิมได้บ่อยครั้งกว่าต้นแฟลกซ์ การปลูกต้องปลูกแน่น ๆ จะได้ต้นเรียวยาว มีใบเฉพาะตอนยอดเท่านั้น ดอกเล็กมี 5 กลีบ มีผลเล็กเมล็ดมาก เมื่อใบที่โคนเริ่มเหลือง ก็เป็นระยะที่ตัดต้นป่านได้
การแยกใยป่าน แยกวิธีเดียวกับการแยกใยลินินต้องหมักให้ต้นเปื่อย ลอกเปลือกออกบด แล้ววางเอาเส้นใยออก เข้าเครื่องปั่นเป็นเส้นใยด้ายเพื่อทอเป็นผ้าต่อไป เส้นใยธรรมชาติมีสีน้ำตาล เข้มซึงฟอกขาวได้ยาก จึงนิยมยอมสีสดใสหรือสีเข้ม
เส้นใยป่านมีขนาดความยาวแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ใยยาวมักจะใช้ในงาน อุตสาหกรรม ส่วนใยสั้นจะใช้ในงานทั่ว ๆ ไป ความถ่วงจำเพาะของเส้นใยป่าน 1.48 กรัม/ลบ.ซม. มีความเหนียว 5.2 กรัม/ดิเนียร์ ยืดได้น้อยมากคือประมาณ 1.6 % มีความยืดหยุ่นต่ำ ดูดความชื้น ที่สภาวะมาตรฐาน 12% แต่สามารถเก็บความชื้นได้ 30% ของน้ำหนักเมื่ออากาศชื้นมาก
ปฏิกิริยาต่อกรดและด่าง ด่างเข้มข้น สัละด่างที่มีอุณหภูมิสูง ทำให้เส้นใยละลายได้ แต่ทนได้ในต่างเจือจางทั้งร้อพเละเย็น กรดเจือจางโดยเฉพาะกรดโลหะจะทำให้ใยป่านลดความเหนียวลง และจะขาดได้ในทีสุด ป่านสามารถซักได้ในสารซักฟอก และใช้กับสารฟอกขาวได้ ถ้าใช้ในปริมาณที่พอเหมาะและอย่างถูกวิธี ผ้าป่านทนต่อแสงแดด และความร้อนได้เหมืยนผ้าฝ้าย ทนต่อมอดและแมลงได้ดี แต่ไม่ทนต่อเชื้อรา การทดสอบว่าเป็นเส้นใยป่านหรือไม่นั้น ให้ทดสอบ ด้วยการแช่เส้นใยลงในสารประกอบไอโอดีนในกรดกำมะถัน ถ้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเขียวก็แสดงว่า เป็นผ้าป่านแท้
ประโยชน์ใช้สอยของป่าน นิยมใช้ทำเชือกกระสอบและทำผ้าตกแตงภายในบ้าน ทอเป็นผ้าเนื้อหนา ๆ ใช้ทำถุงขนาดใหญ่ และทำกระสอบ
ใยป่านรามีเป็นเส้นใยทีได้จากลำต้น (Bast Fiber) เป็นพืชที่ปลูกมานานนับร้อย ๆ ปี ในประเทศจีน และเกาะฟอร์โมซา ชาวจีนเรียกว่า หญ้าจีน (chlna grass) และมีหลักฐานปรากฏ ว่า เคยมีปลูกและใช้กันมานานแล้วในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พร้อม ๆ กับการใช้เส้นใยลินิน ในปัจจุบันปลูกมากในประเทศจีน ญี่ปุ่น อียิปต์ ฝรั่งเศส อิตาลี รัสเซีย สหรัฐอฌริกา และอินโดนีเซีย
การปลูกต้นรามีปลูกด้วยเมล็ด ต้นเป็นกอหรือเป็นพุ่มเมื่อเริ่มปลูกต้องมีการตัดต้นทิ้ง หลาย ๆ ครั้ง แล้วปล่อยให้ต้นเจริญขื้นใหม่ จนสามารถนำลำต้นมาเป็นเส้นใยได้ จะต้องใช้เวลา ประมาณ 2-3 ปี เมื่อตัดต้นแล้วจะต้องนำมาลอกเปลือกออกด้วยมือ หรือเครื่องจักร และผ่าน ขบวนการแยกเส้นใยออก การทำความสะอาดทำได้โดยแช่เส้นใยลงในน้ำผสมโซดาไฟ ทิังไว้หลาย ๆ ชั่วโมง เส้นใยจะถูกฟอกจนขาว ขี้ผื้งที่เคลือบอยู่ที่เส้นใยจะหลุดออก ต่อจากนั้นนำไปแช่ในน้ำกรดเจือจาง เพื่อให้มีสภาพเป็นกลางแล้วนำไปซักทำความสะอาตและทำให้แห้งต่อไป
เส้นใยป่านรามีเป็นเส้นใยยาว ค่อนข้างแข็งเป็นมันสีขาวสวยงาม ใกล้เคียงกับเส้นใย ไหม เส้นใยป่านรามีมีความเหนียวมาก มีความเหนียวแตกต่างกัน ตั้งแต่ 5.3-7.4 กรัม/ดิเนียร์ มีความยืดหยุ่นต่ำและยืดได้น้อยที่สุด ใยป่านรามีทนทานและมีปฏิกิริยาเคมีเช่นเดียวกับใยเซลลูโลส ชนิดอื่น ๆ ทนต่อกรดโลหะในอุณหภูมิต่ำ ทนต่อมอด แมลงได้ดี
ประโยชน์ใช้สอย
ผ้าป่านรามีมีลักษณะคล้ายใยลินินจึงมักจะใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับผ้าลินิน เซ่น ตัดเสื้อ ทำผ้าปูโต๊ะ และผ้าเครื่องใช้ในบ้านชนิดอื่นๆ เนื่องจากผ้าใยป่านรามี มีเนื้อค่อนข้างแข็งจึงนิยมผสมกับเส้นใยชนิดอื่นๆ เช่นฝ้าย เรยอน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยทำให้มีคุณสมบัติให้น่าใช้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากป่านรามีมีความเหนียวมากและในขณะที่ผ้าฝ้ายและเรยอนให้ความนุ่มนวล
แชร์หน้านี้ให้เพื่อน: